ค่าง หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดํา ลําตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดํา (Presbytis melalophos) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) และค่างแว่นถิ่นเหนือ (P. phayrei).
ก. ตกลงมาหรือขึ้นไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ติดอยู่กลางทาง, ติดอยู่, เช่น เรือค้างแห้ง ค้างหนี้, ยังไม่แล้วเสร็จตามที่กําหนด เช่น ทํางานค้าง; เหลือกหรืออ้าแล้วเอาลงหรือหุบไม่ได้ เช่น ตาค้าง อ้าปากค้าง ขากรรไตรค้าง; แรมคืน, ค้างคืน ก็ว่า. น. ไม้หลักสําหรับให้ไม้เถาขึ้นเกาะ เช่น ค้างพลู ค้างถั่ว.
ก. ยังไม่สิ้นไป, ยังไม่หมดไป, เช่น ค้างคาใจ ยังมีของค้างคาอยู่.
ก. ไปพักที่อื่นข้ามคืน, แรมคืน, ค้าง ก็ว่า. ว. ข้ามคืน เช่น กับข้าวค้างคืน หมักของไว้ค้างคืน.
ว. ล่วงเวลานานเป็นเดือนเป็นปี.
(สำ) ก. ไม่สําเร็จลุล่วงไปได้.
ว. ล่วงเวลานานเป็นปี เช่น เหล้าค้างปี ปลาร้าค้างปี.
น. ชื่อหนึ่งของถั่วฝักยาว ซึ่งมีไม้ค้างปักเป็นหลักให้เถาเกาะ เรียกว่า ถั่วค้าง. (ดู ถั่วฝักยาว ที่ ถั่ว ๑).